หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน (ส.บ.)


หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน
Public Health


::การดำเนินงานสาธารณสุขของประเทศ ทั้งด้านการบริหาร และการให้บริการสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน ในสังคมทุกระดับจะพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จาเป็นต้อง อาศัยบุคลากรด้านสาธารณสุข เช่น ทันตแพทย์ พยาบาล แพทย์ เภสัชกร นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นต้น ที่มีความเป็นผู้นา เป็นนักวิเคราะห์นักวิจัย นักบริหารและดาเนินโครงการด้านสาธารณสุขของประเทศได้ทุกระดับ ทั้งยังต้องเป็นผู้มีความสามารถในการนิเทศหรือฝึกอบรมบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้ได้ โดยมีสานึกที่ตระหนักถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคที่มีปรัชญามุ่งพัฒนาท้องถิ่นมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ สถานที่ และสิ่งเกื้อหนุนทางวิชาการพิจารณาเห็นความจาเป็นและความสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพ จึงดาเนินการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขา “การจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน” ขึ้น เพื่อรองรับความต้องการบุคลากรด้านสาธารณสุข การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยเน้นการพัฒนาความเป็นนักวิชาการด้านสาธารณสุข ภาวะผู้นา นักวิจัย ผู้นิเทศหรือผู้สอน และผู้ชำนาญด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และสามารถพัฒนาสักยภาพในการบริหารจัดการและปรับปรุงงานด้านสาธารณสุขในระดับต่าง ๆ ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีเจตคติที่ดีต่องานสาธารณสุขทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและเพื่อรองรับการเปิดเสรีการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1)มีความรู้ ทักษะและความสามารถปฏิบัติงานในเชิงวิชาชีพด้านสาธารณสุข โดยเน้นการจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน
2) มีทักษะด้านการวิจัย สังเคราะห์และพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนางานสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางแผน ดาเนินงาน ควบคุม กากับ ติดตาม ประเมินผลและสนับสนุนการดาเนินงานสาธารณสุขได้ 8
3) มีความสามารถในการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข และปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและท้องถิ่น วิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการระบบสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคที่มีปรัชญามุ่งพัฒนาท้องถิ่นมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ สถานที่ และสิ่งเกื้อหนุนทางวิชาการพิจารณาเห็นความจาเป็นและความสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพ จึงดาเนินการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขา “การจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน” ขึ้น เพื่อรองรับความต้องการบุคลากรด้านสาธารณสุข การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยเน้นการพัฒนาความเป็นนักวิชาการด้านสาธารณสุข ภาวะผู้นา นักวิจัย ผู้นิเทศหรือผู้สอน และผู้ชำนาญด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และสามารถพัฒนาสักยภาพในการบริหารจัดการและปรับปรุงงานด้านสาธารณสุขในระดับต่าง ๆ ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีเจตคติที่ดีต่องานสาธารณสุขทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและเพื่อรองรับการเปิดเสรีการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)

หน่วยงานด้านสาธารณสุข
– การปรับเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารงานสาธารณสุข
-นักวิชาการสาธารณสุข
สถาบันการศึกษา
– อาจารย์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
– ผู้อำนวยการ
– นักวิชาการสาธารณสุข
– นักวิชาการฝ่ายแผนงาน
– นักวิชาการด้านการบริหารจัดการโครงการสุขภาพ
– นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
– นักวิชาการสุขาภิบาล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยงานเอกชน (เช่น โรงงาน บริษัทเอกชน)
– เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมภาคเอกเอกชน
หน่วยงานในกำกับของรัฐ (สสส. สปช. สวรส)
– นักวิจัย
– เจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนและพัฒนาระบบสุขภาพ
หน่วยงานในกำกับของรัฐ